วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Zodiac

THE ZODIAC





ราศีเมษ (Aries จากภาษาลาติน แปลว่า แกะตัวผู้) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีแรก ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีมีนและราศีพฤษภ มีสัญลักษณ์เป็น แกะตัวผู้ ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีเมษนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 มีนาคม ถึง 19 เมษายน ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 14 เมษายน ถึง 14 พฤษภาคม



ราศีพฤษภ (Taurus จากภาษาลาตินแปลว่า วัว) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 2 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีเมษและราศีเมถุน มีสัญลักษณ์เป็นวัว ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีพฤษภนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 20 เมษายน ถึง 20 พฤษภาคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม ถึง 14 มิถุนายน




ราศีเมถุน (Gemini จากภาษาลาติน แปลว่า ฝาแฝด) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 3 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีพฤษภและราศีกรกฎ มีสัญลักษณ์เป็นฝาแฝด ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีเมถุนนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม ถึง 20 มิถุนายน ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน ถึง 16 กรกฎาคม




ราศีกรกฎ (Cancer จากภาษาลาติน แปลว่า ปู) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 4 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีเมถุนและราศีสิงห์ มีสัญลักษณ์เป็น ปู ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกรกฎนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน ถึง 22 กรกฎาคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม ถึง 16 สิงหาคม




ราศีสิงห์ (Leo จากภาษาลาติน แปลว่า สิงโต) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 5 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีกรกฎและราศีกันย์ มีสัญลักษณ์เป็น สิงโต ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีสิงห์นั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 22 สิงหาคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม ถึง 16 กันยายน




ราศีกันย์ (Virgo จากภาษาลาติน แปลว่า หญิงพรหมจรรย์) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 6 ตามตำราของโหรศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีสิงห์และราศีตุลย์ มีสัญลักษณ์เป็นหญิงสาวพรหมจรรย์มีปีก ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกันย์นั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม ถึง 22 กันยายน ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 17 กันยายน ถึง 17 ตุลาคม



ราศีตุลย์ (Libra จากภาษาลาติน แปลว่า ความสมดุล) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 7 ตามตำราของโหรศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีกันย์และราศีพฤศจิก มีสัญลักษณ์เป็นตาชั่ง ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีตุลย์นั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 กันยายน ถึง 22 ตุลาคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 18 ตุลาคม ถึง 16 พฤศจิกายน



ราศีพิจิก (Scorpio จากภาษาลาติน แปลว่า แมงป่อง) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 8 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีตุลย์และราศีธนู มีสัญลักษณ์เป็น แมงป่อง(บางตำราเป็นนกอินทรีหรืองู) ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีพิจิกนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม ถึง 21 พฤศจิกายน ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน ถึง 15 ธันวาคม




ราศีธนู (Sagittarius จากภาษาลาตินแปลว่า นักยิงธนู) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 9 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีพฤศจิกและราศีมังกร มีสัญลักษณ์เป็น เซนทอร์กำลังยิงธนู ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีธนูนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน ถึง 21 ธันวาคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม ถึง 14 มกราคม





ราศีมังกร (Capricorn จากภาษาลาตินแปลว่า แพะทะเล) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 10 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีธนูและราศีกุมภ์ มีสัญลักษณ์เป็นครึ่งแพะภูเขาครึ่งปลา ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีมังกรนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม ถึง 19 มกราคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 มกราคม ถึง 12 กุมภาพันธ์


ราศีกุมภ์ (Aquarius จากภาษาลาติน แปลว่า คนโทใส่น้ำ) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีที่ 11 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีมังกรและราศีมีน มีสัญลักษณ์เป็นผู้ชายถือคนโทน้ำ ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกุมภ์นั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 20 มกราคม ถึง 18 กุมภาพันธ์ ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ถึง 14 มีนาคม



ราศีมีน (Pisces จากภาษาลาติน แปลว่า ปลา-พหุพจน์) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีสุดท้าย ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างกลุ่มดาวราศีกุมภ์และราศีเมษ มีสัญลักษณ์เป็น ปลา 2 ตัว ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีมีนนั้น ในแบบสายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ถึง 20 มีนาคม ส่วนแบบนิรายนะ จะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 มีนาคม ถึง 13 เมษายน

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย พระโสทรเชษฐภคินี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย


แม้ตามโบราณราชประเพณี พระอิสริยศักดิ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จะเทียบเท่ากับชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า แต่ด้วยความที่ทรงเป็นพระโสทรเชษฐภคินี อันสนิทแต่พระองค์เดียว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชวินิจฉัยให้พระราชทานพระอิสริยยศพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อย่างสูงสุด โดยถือเป็นการอนุโลม ดังจะเห็นได้จากการที่ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ยังทรงได้รับพระราชทาน "พระโกศทองใหญ่" เป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศพระศพ ซึ่งเป็นพระโกศที่อยู่ในลำดับชั้นสูงสุด ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น โดยในรัชกาลปัจจุบัน มีพระราชวงศ์ 8 พระองค์ ที่ทรงได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่ รวมถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8, สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า, สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ไม่เพียงเท่านี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเศวตฉัตร 7 ชั้น กางกั้นพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ แทนเศวตฉัตร 5 ชั้น ตามพระอิสริยศักดิ์ พร้อมโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงร่วมกันเป็นประธานที่ปรึกษาการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น และสมพระเกียรติที่สุด โดยจะจัดขึ้นต่อเนื่อง 6 วันเต็ม ระหว่างวันที่ 14-19 พ.ย. 2551 ไฮไลต์สำคัญของพระราชพิธี ที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศเฝ้าติดตามชมก็คือ พระราชพิธีเชิญพระโกศออกพระเมรุ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในวันที่ 15 พ.ย. 2551 ซึ่งจะมีการจัดริ้วขบวนพระราชอิสริยยศอย่างงดงามตระการตา ตามโบราณราชประเพณีทุกประการ









พระราชพิธีในวันดังกล่าว แบ่งออกเป็นสามช่วงคือ เวลา 7 โมงเช้า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จะเสด็จฯแทนพระองค์ตามพระโกศ ไปยังพลับพลายก หน้าวัดพระเชตุพนฯ เพื่อทรงทอดผ้าไตร 20 ไตร จากนั้นขบวนกองทหาร พร้อมขบวนพระอิสริยยศ แห่เชิญพระโกศเข้าสู่ท้องสนามหลวง และเคลื่อนพระโกศเวียนรอบพระเมรุ 3 รอบ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา-ภรณ์ฯ, ทูลกระหม่อมอุบลรัตนราช-กัญญาฯ จะเสด็จฯตามพระโกศ พร้อมด้วย ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม ธิดาคนเดียวของสมเด็จฯ กรมหลวงฯ และหลังเชิญพระโกศเข้าสู่พระเมรุแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ จึงเสด็จฯขึ้นสู่ พระเมรุ สักการะพระศพ ต่อมาในเวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จฯยังพระที่นั่งทรงธรรม และเสด็จฯขึ้นพระเมรุ พระราชทานเพลิงพระศพ จนกระทั่ง 4 ทุ่มตรง จึงเสด็จฯขึ้นพระเมรุ ท้องสนามหลวงอีกครั้ง เพื่อพระราชทานเพลิงพระศพฯจริง หัวใจสำคัญของพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ อยู่ที่การจัดสร้างพระเมรุ ในมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ให้ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติที่สุด โดยตั้งแต่โบราณกาลมา พระเมรุได้ถูกใช้เป็นเครื่อง แสดงความกตัญญู และความอาลัยรักต่อพระผู้เสด็จกลับสรวงสวรรค์ อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงพระเดชานุภาพของกษัตริย์องค์ปัจจุบัน สำหรับพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ใช้เวลาจัดสร้างนานหลายเดือน ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร โดยสร้างเป็นกุฎาคารเรือนยอด ประธานมณฑลสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นพระเมรุทรงปราสาทจัตุรมุขย่อมุมไม้สิบสอง ยอดปักพระสิปตปฎลเศวตฉัตร จากฐานถึงยอดฉัตรสูง 37.85 เมตร กว้าง 31.80 เมตร ยาว 39.80 เมตร สร้างด้วยไม้ โครงสร้างภายในเป็นเหล็ก ประดับด้วยกระดาษทองย่น ตกแต่งลวดลายวิจิตรงดงาม




ฐานพระเมรุ ได้จัดทำเป็น 2 ระดับ มีบันไดทอดยาวตลอดทั้ง 4 ทิศ ระดับแรกเรียกว่า ฐานชาลา ประดับด้วยรูปเทวดานั่งคุกเข่า พระหัตถ์ถือบังแทรกตรงกลางเป็นโคมไฟ ประดับตามพนักฐานชาลา ด้านในมีรูปเทวดาประทับยืนถือฉัตรเครื่องสูงรายรอบ ระดับที่สอง หรือฐานบน เรียกว่า ฐานพระเมรุ เป็นฐานสิงห์ มีบันไดทางขึ้นจากฐานชาลาทั้ง 4 ทิศ โถงกลางใหญ่ของพระเมรุ จัดตั้งพระจิตกาธานขนาดใหญ่ สำหรับประดิษฐานพระโกศ เพื่อถวายพระเพลิง ทางด้านทิศเหนือของพระจิตกาธาน มีรางยื่นออกไปนอกมุข เป็นสะพานเกริน ใช้เป็นที่เคลื่อนพระโกศจากพระยานมาศสามลำคาน ขึ้นบนพระเมรุ องค์พระเมรุทั้งด้านใน และด้านนอก ประดับตกแต่งด้วยกระดาษทองย่นเกือบทั้งหมด ใช้สีทองเป็นหลัก และประกอบด้วยสีอื่นๆ ที่เป็นสีอ่อนหวาน เหมาะกับพระอุปนิสัย และพระจริยวัตร ที่นุ่มนวลสง่างามของสมเด็จฯกรมหลวงฯ ในส่วนของอาคารต่างๆ ในมณฑลพิธี ประกอบด้วย พระที่นั่งทรงธรรม เป็นอาคารโถง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระเมรุ ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับทรงธรรม และทรงประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในการออกพระเมรุพระศพ ภายในพระที่นั่งทรงธรรม ยังเป็นที่ตั้งอาสนะพระสงฆ์ และธรรมาสน์ และเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงพักพระอิริยาบถ ซึ่งตรงกับมุขด้านหน้าของพระเมรุ ส่วนมุขด้านเหนือและใต้ ใช้สำหรับข้าราชการและคณะทูตานุทูต เข้าเฝ้าฯ นอกเหนือจากพระเมรุ กลางท้องสนามหลวงแล้ว องค์ประกอบสำคัญในพระราชพิธีครั้งนี้ ยังรวมถึง ริ้วขบวนพระราชอิสริยยศ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ซึ่งจัดเตรียมไว้อย่างงดงามตามราชประเพณี รวม 6 ริ้วขบวนประกอบด้วยริ้วขบวนที่ 1 ทำหน้าที่เชิญพระโกศ โดยพระยานมาศสามลำคาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระมหาพิชัยราชรถ หน้าวัดพระเชตุพนฯ เมื่อกล่าวถึงพระมหาพิชัยราชรถ ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นราชรถสำหรับเชิญ พระโกศพระบรมศพพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2338 ต่อมาได้นำมาซ่อมแซมเพื่อใช้งานใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยได้มีการเพิ่มล้อขึ้นอีกในตัวราชรถ เพื่อให้รับน้ำหนักตัวราชรถ, บุษบกยอด และพระโกศที่ตั้งอยู่บนราชรถ ในยามที่เคลื่อนย้ายเข้ากระบวนพระราชพิธี จะได้เป็นไปอย่างราบรื่น


ส่วนริ้วขบวนที่ 2 รับภารกิจเชิญพระโกศโดยพระมหาพิชัยราชรถ จากหน้าวัดพระเชตุพนฯ ไปยังพระเมรุ ท้องสนามหลวง, ริ้วขบวนที่ 3 เชิญพระโกศ โดยพระยานมาศสามลำคานเวียนพระเมรุ โดยอุตราวัฏ (เวียนซ้าย) ครบ 3 รอบ แล้วเชิญพระโกศประดิษฐานบนพระเมรุ ในวันเก็บอัฐิ (16 พ.ย.), ริ้วขบวนที่ 4 เชิญพระโกศพระอัฐิ โดยพระที่นั่งราเชนทรยาน และพระราชสรีรางคาร โดยพระวอสีวิกากาญจน์ จากพระเมรุท้องสนามหลวง เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ภายหลังบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ ในส่วนของริ้วขบวนที่ 5 เชิญพระโกศพระอัฐิ โดยพระที่นั่งราเชนทรยาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมานบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และริ้วขบวนที่ 6 วันบรรจุพระราชสรีรางคาร (19 พ.ย.) เชิญฯพระราชสรีรางคารจากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรถยนต์พระที่นั่งไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธฯ รูปแบบของเครื่องแต่งกายในริ้วขบวนก็มีสีสันน่าสนใจเช่นกัน ริ้วขบวนทั้ง 6 ประกอบด้วยกำลังพล 5,300 นาย มีทั้งที่มาจากสามเหล่าทัพ, นักเรียนเตรียมทหาร, กรมสรรพาวุธ, กรมพลาธิการ, คณะครูอาจารย์ โรงเรียนราชินี, ราชวินิต, จิตรลดา และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จากกระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร นอกจากผู้เข้าประจำในริ้วขบวน จะต้องซ้อมความพร้อมในเรื่องจังหวะและลีลาแล้ว ทุกคนยังต้องแต่งกายตามแบบที่กำหนดไว้ มีทั้งหมด 16 แบบ ใช้งบประมาณในการตัดเย็บ 24 ล้านบาท มีอาทิ เครื่องแต่งกายนำริ้วขบวน เป็นเสื้ออัตลัดสีบานเย็น นุ่งผ้าเกี้ยวลาดรัดประคดโหมดเทศ สวมหมวกทรงประพาสกำมะหยี่ สีดำยอดเกี้ยว, ชุดธงสามชาย เป็นเสื้ออัตลัดสีแดง นุ่งผ้าเกี้ยวลาดรัดประคดโหมดเทศสีแดง สวมหมวกหูกระต่ายแดง ขลิบลูกไม้ใบข้าว, ชุดกลองชนะแดงลายทอง สวมเสื้อปัสตูแดงขลิบเหลือง กางเกงปัสตูแดงขลิบเหลือง สวมหมวกกลีบลำดวนแดงขลิบเหลือง และชุดจ่าปี่กับจ่ากลอง สวมเสื้อเข้มขาบไหม เข็มขัดแถบทองหัวครุฑ กางเกงมัสรูไหม สวมหมวกทรงประพาสโหมดเทศยอดเกี้ยว สำหรับประชาชนทั่วไป สามารถร่วมถวายดอกไม้จันทน์แสดงความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ที่บริเวณท้องสนามหลวง และบริเวณรอบๆ ซึ่งทางกรุงเทพมหานคร ได้จัดทำไว้ จำนวน 8 ซุ้ม ส่วนต่างจังหวัด ได้มีการจัดซุ้มไว้ตามศาลากลางจังหวัด และสถานที่สำคัญทางราชการ

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Loy Krathong: Festive air for a night of worship

Loy Krathong Day







Nov 22, 1999: THIS evening, as the Thai people go to the nearby rivers, khlongs or ponds to float their lotus-shaped vessels made of banana leaves, they will be evoking the spirit of the sacred past, with a blessing of a full moon.
Of all the Thai festivals, Loy Krathong is perhaps one of the most ritualistic and colourful events, rich in religious and spiritual expression. A krathong normally comes with a candle, three-joss-sticks and some flowers. Floating the krathong down the river during the high tide, and after the rainy season is over, not only signifies the attempt to purge evil or bad luck, but also represents an act of worshipping the Goddess of the water.
Therein lies the influence of Brahminism. Brahmin rites cannot be separated from the traditional religious practices of the Thais. But ancient Thai beliefs and folklore also hold that there are higher spirits residing everywhere, in the rivers, the trees and the mountains. There are virtually no places on earth that are not, or have not been, occupied by ghosts or by gods. You are supposed to act with reservation and not to speak out loud when you are in a forest because you do not want to disturb the spirits. But in Western thought, a forest is nothing but a wilderness for man to conquer.
For Bt3,800 a ticket at the Shangri-la Hotel, you can observe the delights of fireworks above the Chao Phraya River while having your favourite wine and food. Other Bangkok hotels, with an eye for the dollar, also go at top gear with their Loy Krathong gimmicks. This is an idle, if not rather expensive, way to let the Loy Krathong Day slip by without philosophising or without the trouble fighting the crowds on the riverbanks.
Nowhere in Thailand is the Loy Krathong Festival held with more fanfare than at Sukhothai, one of the ancient capitals that lies about 450 kilometres north of Bangkok. Despite its past grandeur, and its Utopian characteristics, Sukhothai's existence comes to the fore only once a year, at the time of Loy Krathong. For most of the year Sukhothai is far from the Thai consciousness, like the ruins of its past that are forever buried under layers of the earth.
Reviving Sukhothai can only be done necessarily by popularising it, with modern lights and sounds against the background of its decaying structures. But as the young girls, clad in exquisite Thai costumes, prepare to float their krathongs into the pond of the Sukhothai historical park in front of the thousands of visitors, they almost unconsciously might have formed an elusive image of the grandiose Noppamas in their imaginations.
What Venus is to beauty for the ancient Greeks, Noppamas is beauty for Thais. And one way of popularising Noppamas is to immortalise her through the Noppamas Beauty Queen Contest, held not only in Sukhothai but elsewhere throughout the country.
Legend has it that Noppamas, a beautiful lady of exceptional wit and charm, was the first to have devised the krathong in the 13th century. She served in the court of King Lithai, the grandson of King Ramkhamhaeng The Great. A favourite of the king, Noppamas was said to have raised court mannerisms and practices to a high order. The krathong she floated created a lasting tradition that is still observed today, though with different imageries.
Now Loy Krathong is firmly connected with the worldly desires for material gains. Young Thai couples also find the festival auspicious enough to bind their love together. You will know a Thai girl's boyfriend by waiting to see with whom she goes to float the krathong with. Little do the young couples realise, however, that once they float the krathong, which is supposed to hold their spirits together, they let go their destiny into the realm of the unknown.
While most Thais know Noppamas by associating her with the Loy Krathong Festival, few have bothered to go back to read King Lithai's Buddhist to gain a proper frame of mind.
While his grandfather King Ramkhamhaeng was held as the inventor of the Thai written characters, King Lithai wrote Trai Phum Phra Ruang or ''Sermon on the Three Worlds''. This masterpiece was recognised as a Thai version of the Divine Comedy, ranked in the same class as Dante's.




King Lithai's ''Three Worlds'' do not represent the earthly, the infernal or the heavenly spheres, but account for the three Buddhist forms of existence of the sentient world. In this religious universe, there is the world of kama-loka, or the world of the five senses; the world of rupa-loka, or the corporeal world of the 16 celestial grades; and the world of arupa-loka, or the incorporeal world where the five senses cease to function. This treatise formed a doctrinal basis for King Lithai to lead his followers to redemption. Ancient Thais were given the vision of the various cosmic realms and their inhabitants, some of whom were confined to eternal damnations if they could not break away from their sins.
Floating the krathong with King Lithai -- not Noppamas -- in your heart will get you closer to Dharmma. A shocking reality is now emerging that in spite of her immortality, Noppamas might not exist at all.
Whether she is a historical person or a fictional character is a subject of controversial debate in the academic circle. But let the academics carry on their debate. Noppamas will continue to exist, for in Thailand histories and legends are mixed so intensely like moulding gold into a pagoda that the facts lie in the realm of introspection.
Even the significance of Sukhothai as the first formal capital of Thailand has also been disputed bitterly among the historians. For generations, Thais have been taught that Sukhothai was Thailand's first formal kingdom before it was defeated by Ayudhya. Then we have Thon Buri and Bangkok. All of which cover a span of more than 700 years. New suggestions have attempted to paint Sukhothai as simply one of the several kingdoms or muangs, which were scattering throughout this part of the world and vying for political and military predominance at the time.
To deny Sukhothai is one thing, but to delete Noppamas from the Thai consciousness amounts to daylight robbery of Loy Krathong. The young girls who dance in front of the remnants of the Sukhothai look as if they were trying to establish a connection with the past through Noppamas, the person they can only imagine or dream of. And these Sukhothai dancers are but the descendants of the semi-devine and radius beings, who at the beginning of time, came down to this world and were lured by the temptations of the fragrance of the earth. Once they tasted the earth, they at once became walking mortals. In this classical Buddhist doctrine, mankind was created and reincarnated in the unending cycle of suffering, until enlightenment is attained.
For almost three years, Thais have come to appreciate the world ''float'' even more. After the float of the Thai baht in July 1997, its value has been bumping up and down like the fate of the krathong trying to negotiate the treacherous high waters. The arrival of the Loy Krathong Festival once again reinforces the universality of Buddhism. It completes the cycle -- that the certain has become the uncertain and the uncertain has become the certain.