วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เรียกแม่

ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการข ึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้อง ให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม.จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จ ก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกัน ก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่ นสีขาวสำหรับในประเทศไทยนั้น มีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤตสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปไหลายรั้ง แต่กำหนดวันมี่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ ขาดผู้สนับสนุน ซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเองต่อมา สมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุมาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเส ียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่ โดยให้ถือว่า วันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี นาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั่ง แต่นั้นมาเหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม ่มีวันเสื่อมคลาย...นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า “แม่” ของทุกๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม,พ,ป,บ หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นพยัญชนะที่เด็กสามารทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น ภาษาไทย แม่ ภาษาจีน ม๊ะ หรือม่า ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์) ภาษาอังกฤษ mom , mam ภาษามุสลิม มะ

ไม่มีความคิดเห็น: