NEW YEAR's day
Thailand is well-known for her festivals which take place all the year round. Most of these festivals are influenced by Buddhist and Brahminical religions, however, with the passage of time a number of them have been adopted in deference to the international practice.
Actually, the official New Year's Day of Thailand has undergone several changes. Once it used to fall at the end of November. Later, during the reign of King Rama V ( 1868-1910) it was moved to a date round about April and then New Year's Day was changed to April the first. The universal practice of celebrating the New Year on January 1 was adopted in 1941 in deference to the western calendar and this is one of a number of changes aimed at modernising the country.
Though January 1 is regarded as official New Year, the majority of Thais still regard the middle of April (Songkran) as their new year's day, and on this auspicious occasion a week-long celebration is held through out the kingdom. Most of activities on Songkran Day involve water throwing, building sand pagodas and pouring lustral water on the aged as a means of blessing. To be frank, a celebration a January 1 is not so popular as that of Songkran. Normally, before the upcoming January 1, people will exchange greeting cards and gifts. Sin ce on this auspicious occasion, a few grand celebrations are held in the kingdom, people take this opportunity to travel upcountry to visit their relatives or spend holidays at a tourist attraction site, while those stay at home will prepare food and other necessary items to make merit on the early morning of January 1 and then take part in various charitable activities held in various places.
At the same time, several companies take this opportunity to give a bonus and announce promotions to their employees who later cash money to buy gifts for relatives and friends before heading to their hometown for a long vacation.
Obviously, in Thailand people celebrate New Year three times a year, namely: the Thai traditional New Year or Songkran, January 1 and the Chinese New Year. Out of these, Songkran is the most joyous occasion which draw people from all walks of life to take part in a week-long celebration. Meanwhile, the Chinese New Year is important especially for Thai citizens of Chinese origin. Though it is not a public holiday, most private organizations will close their business for several days so that the employers and their employees will be able to celebrate the auspicious occasion with their relatives at home or spend a long holiday in a place they like.
ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการจัดฉลองเทศกาลตลอดทั้งปี เทศกาลเหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจากทั้งศาสนาพุทะและศาสนาพราหมณ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อกาลเวลาผ่านไป เทศกาลต่างๆ เหล่านี้ก็ถูกดัดแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับสากลนิยมบ้าง
ที่จริงแล้ว วันขึ้นปีใหม่ของไทยอย่างเป็นทางการนี้ได้รับการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งหลายคราว ครั้งหนึ่งเคยถือเอาปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 - 2453) วันขึ้นปีใหม่กำหนดให้อยู่ในช่วงเดือนเมษายน จนกระทั่งเปลี่ยนมาถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ การถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากลนิยมนั้นเพิ่งจะได้นำมาประยุกต์ใช้ในปี พ.ศ. 2484 เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินตะวันตกและนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งในหลายๆ สิ่งที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประเทศก้าวไปสู่สมัยใหม่
ถึงแม้ว่า วันที่ 1 มกราคม จะถือปฏิบัติเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังถือเอากลางเดือนเมษายน (วันสงกรานต์) เป็นวันขึ้นปีใหม่และในโอกาสอันเป็นมงคลนี้การเฉลิมฉลองเป้นเวลานานนับสัปดาห์ก็จะมีขึ้นให้เห็นทั่วราชอาณาจักร ส่วนใหญ่กิจกรรมในวันสงกรานต์นี้จะเกี่ยวกับการสาดน้ำใส่กัน สร้างเจดีย์ทราย และรดน้ำหอมให้กับผู้สูงอายุเพื่อความเป็นสิริมงคล ความจริงแล้ว การฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคมนั้น จะได้รับความนิยมน้อยกว่าวันสงกรานต์มาก โดยปกติก่อนวันที่ 1 มกราคม ผู้คนก็จะแลกบัตรอวยพรและของขวัญแก่กันและกัน เนื่องจากในวันนี้การเฉลิมฉลองอย่างมโหฬารจะจัดให้มีขึ้นเพียงไม่กี่แห่ง ผู้คนก็เลยถือโอกาสนี้ไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อเยี่ยมญาติๆ หรือไม่ก็ไปใช้วันหยุดในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในขณะที่ผู้ที่อยู่บ้านก็จะจัดเตรียมอาหารและเครื่องไทยธรรมอื่นๆ เพื่อทำบุญตักบาตรในเช้าตรู่ของวันที่ 1 มกราคม และยังเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลต่างๆ ที่จัดให้มีขึ้นตามสถานที่ต่างๆ
ในขณะเดียวกัน หลายบริษัทก็จะถือเอาโอกาสนี้แจกเงินโบนัสและประกาศเลื่อนขั้นพนักงานผู้ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังจะถอนเงินซื้อของขวัญเพื่อแจกญาติๆ และเพื่อฝูงก่อนที่จะบ่ายหน้าไปยังบ้านเกิดเพื่อใช้วันหยุดอันยาวนาน
จะเห็นได้ว่า คนไทยจะฉลองปีใหม่ 3 ครั้งต่อปีเลยก็ว่าได้ กล่าวคือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีหรือวันสงกรานต์ วันที่ 1 มกราคม และวันตรุษจีน ใน 3 วันนี้ วันสงกรานต์เป็นโอกาสที่สนุกสนานที่สุด เพราะว่าประชาชนจากทุกสาขาอาชีพต่างพร้อมใจกันเข้าร่วมฉลองเป็นเวลานับสัปดาห์ ในขณะที่วันตรุษจีนก็มีความสำคัญเท่าๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยเชื้อสายจีน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่วันหยุดของทางราชการ บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ก็จะหยุดดำเนินธุรกิจเป็นเวลาหลายวัน เพื่อให้ทั้งนายจ้างและพนักงานได้เข้าร่วมฉลองโอกาสอันเป็นมงคลนี้ร่วมกับญาติๆ ที่บ้านหรือไม่ก็ใช้วันหยุดตามสถานที่ที่ตนพอใจ
Actually, the official New Year's Day of Thailand has undergone several changes. Once it used to fall at the end of November. Later, during the reign of King Rama V ( 1868-1910) it was moved to a date round about April and then New Year's Day was changed to April the first. The universal practice of celebrating the New Year on January 1 was adopted in 1941 in deference to the western calendar and this is one of a number of changes aimed at modernising the country.
Though January 1 is regarded as official New Year, the majority of Thais still regard the middle of April (Songkran) as their new year's day, and on this auspicious occasion a week-long celebration is held through out the kingdom. Most of activities on Songkran Day involve water throwing, building sand pagodas and pouring lustral water on the aged as a means of blessing. To be frank, a celebration a January 1 is not so popular as that of Songkran. Normally, before the upcoming January 1, people will exchange greeting cards and gifts. Sin ce on this auspicious occasion, a few grand celebrations are held in the kingdom, people take this opportunity to travel upcountry to visit their relatives or spend holidays at a tourist attraction site, while those stay at home will prepare food and other necessary items to make merit on the early morning of January 1 and then take part in various charitable activities held in various places.
At the same time, several companies take this opportunity to give a bonus and announce promotions to their employees who later cash money to buy gifts for relatives and friends before heading to their hometown for a long vacation.
Obviously, in Thailand people celebrate New Year three times a year, namely: the Thai traditional New Year or Songkran, January 1 and the Chinese New Year. Out of these, Songkran is the most joyous occasion which draw people from all walks of life to take part in a week-long celebration. Meanwhile, the Chinese New Year is important especially for Thai citizens of Chinese origin. Though it is not a public holiday, most private organizations will close their business for several days so that the employers and their employees will be able to celebrate the auspicious occasion with their relatives at home or spend a long holiday in a place they like.
ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการจัดฉลองเทศกาลตลอดทั้งปี เทศกาลเหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจากทั้งศาสนาพุทะและศาสนาพราหมณ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อกาลเวลาผ่านไป เทศกาลต่างๆ เหล่านี้ก็ถูกดัดแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับสากลนิยมบ้าง
ที่จริงแล้ว วันขึ้นปีใหม่ของไทยอย่างเป็นทางการนี้ได้รับการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งหลายคราว ครั้งหนึ่งเคยถือเอาปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 - 2453) วันขึ้นปีใหม่กำหนดให้อยู่ในช่วงเดือนเมษายน จนกระทั่งเปลี่ยนมาถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ การถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากลนิยมนั้นเพิ่งจะได้นำมาประยุกต์ใช้ในปี พ.ศ. 2484 เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินตะวันตกและนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งในหลายๆ สิ่งที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประเทศก้าวไปสู่สมัยใหม่
ถึงแม้ว่า วันที่ 1 มกราคม จะถือปฏิบัติเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังถือเอากลางเดือนเมษายน (วันสงกรานต์) เป็นวันขึ้นปีใหม่และในโอกาสอันเป็นมงคลนี้การเฉลิมฉลองเป้นเวลานานนับสัปดาห์ก็จะมีขึ้นให้เห็นทั่วราชอาณาจักร ส่วนใหญ่กิจกรรมในวันสงกรานต์นี้จะเกี่ยวกับการสาดน้ำใส่กัน สร้างเจดีย์ทราย และรดน้ำหอมให้กับผู้สูงอายุเพื่อความเป็นสิริมงคล ความจริงแล้ว การฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคมนั้น จะได้รับความนิยมน้อยกว่าวันสงกรานต์มาก โดยปกติก่อนวันที่ 1 มกราคม ผู้คนก็จะแลกบัตรอวยพรและของขวัญแก่กันและกัน เนื่องจากในวันนี้การเฉลิมฉลองอย่างมโหฬารจะจัดให้มีขึ้นเพียงไม่กี่แห่ง ผู้คนก็เลยถือโอกาสนี้ไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อเยี่ยมญาติๆ หรือไม่ก็ไปใช้วันหยุดในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในขณะที่ผู้ที่อยู่บ้านก็จะจัดเตรียมอาหารและเครื่องไทยธรรมอื่นๆ เพื่อทำบุญตักบาตรในเช้าตรู่ของวันที่ 1 มกราคม และยังเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลต่างๆ ที่จัดให้มีขึ้นตามสถานที่ต่างๆ
ในขณะเดียวกัน หลายบริษัทก็จะถือเอาโอกาสนี้แจกเงินโบนัสและประกาศเลื่อนขั้นพนักงานผู้ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังจะถอนเงินซื้อของขวัญเพื่อแจกญาติๆ และเพื่อฝูงก่อนที่จะบ่ายหน้าไปยังบ้านเกิดเพื่อใช้วันหยุดอันยาวนาน
จะเห็นได้ว่า คนไทยจะฉลองปีใหม่ 3 ครั้งต่อปีเลยก็ว่าได้ กล่าวคือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีหรือวันสงกรานต์ วันที่ 1 มกราคม และวันตรุษจีน ใน 3 วันนี้ วันสงกรานต์เป็นโอกาสที่สนุกสนานที่สุด เพราะว่าประชาชนจากทุกสาขาอาชีพต่างพร้อมใจกันเข้าร่วมฉลองเป็นเวลานับสัปดาห์ ในขณะที่วันตรุษจีนก็มีความสำคัญเท่าๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยเชื้อสายจีน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่วันหยุดของทางราชการ บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ก็จะหยุดดำเนินธุรกิจเป็นเวลาหลายวัน เพื่อให้ทั้งนายจ้างและพนักงานได้เข้าร่วมฉลองโอกาสอันเป็นมงคลนี้ร่วมกับญาติๆ ที่บ้านหรือไม่ก็ใช้วันหยุดตามสถานที่ที่ตนพอใจ